Thursday, November 26, 2015

ทำหนัง(สั้น)ไม่อยาก : Post - Production(ช่วงเก็บรายละเอียด - ตัดต่อ)

มาถึงขั้นตอนสุดท้ายคือขั้นตอนการPost - Production(ช่วงเก็บรายละเอียด - ตัดต่อ) ขั้นตอนนี้ก็สำคัญไม่แพ้กัน ถ้าหากทุกอย่างทำออกมาดีแต่ขั้นตอนนี้ผิดพลาดก็จะทำให้ทุกอย่างเสียหาย การตัดต่อสามารถควบคุมอารมณ์คนดูได้ สามารถทำให้หนังออกมาน่าดูหรือไม่อยากดูได้เลย 

:: ลองชมวีดีโอสอนพื้นฐานการตัดต่อกันก่อนนะครับ 



Credit : By คุณ Ake www.thaidfilm.com
:: นี่ก็คือพื้นฐานการตัดต่อหนังสั้นแบบง่ายๆ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการปรับใช้ของแต่ละคนนะครับ


Cinema Look 2.35:1
สำหรับใครที่สงสัยว่าหนังที่ฉายในโรงภาพยนตร์ทำไม ขอบดำบนและล่างมีเยอะกว่าละครในทีวี นั่นคือเทคนิคการ Crop Cinema Look 2.35:1 วิธีทำไม่ยากครับ ตามคลิปวีดีโอนี้เลย'

Credit : By คุณ Ake www.thaidfilm.com

:: การCrop ภาพแบบนี้จะทำให้ได้อารมณ์ของหนังที่ฉายในโรงภาพยนตร์ ทำให้หนังดูดีขึ้นได้ไม่ยาก แต่ควรจะถ่ายเผื่อการตัดขอบดำด้วยนะครับ


อ้างอิง 
ake thaidfilm. การตัดต่อ VDO ด้วย Sony Vegas 9 [ออนไลน์]เข้าถึงได้จาก :http://www.thaidfilm.com/read.php?tid=8, 17 กันยายน 2555

ake thaidfilm. การตัดต่อ VDO ด้วย Sony Vegas 9 [ออนไลน์]เข้าถึงได้จาก :http://www.thaidfilm.com/read.php?tid=389, 17 กันยายน 2555

ที่มา : http://makeshortfilms.blogspot.com/2012/09/post-production.html

ทำหนัง(สั้น)ไม่อยาก : Production(การถ่ายทำ)

เมื่อเราเตรียมงานถ่ายกันแล้วนะครับ คราวนี้จะมาถึงการ Production ขั้นตอนนี้สำคัญมาก ต้องไม่ให้เกินเวลาที่กำหนดและงานต้องออกมาดีที่สุด ทั้งหมดนี้ก็ขึ้นอยู่กับการเตรียมงานว่าเตรียมมาดีแค่ไหน

ในขั้นตอนการผลิตภาพยนตร์(Production) จะมีตำแหน่งต่างๆดังนี้
ผู้กำกับ Director - เป็นผู้ถ่ายทอดเรื่องราวในภาพยนตร์ กำหนดทิศทางของหนัง อารมณ์ของหนัง
ผู้ช่วยผู้กำกับ Assistant - คอยเป็นผู้ช่วยในทุกเรื่อง ต้องรู้มากกว่าผู้กำกับ ซ้อมบทนักแสดง จัดคิวถ่าย ควบคุมเวลาให้ไม่เกินกำหนด ดำเนินงานการถ่ายทำ
ผู้จัดการกองถ่าย Producer - จัดหาทุกอย่างที่กองถ่ายต้องการ ตั้งแต่สถานที่ถ่ายทำ โรงแรม อาหาร เครื่องดื่ม นักแสดง  
ผู้กำกับภาพ Director of Photography - กำหนดภาพที่จะเห็นในจอ กำหนดทิศทางแสง การเคลื่อนกล้อง ขนาดภาพ
ผู้กำกับศิลป์ Art Director - จัดเตรียมอุปกรณ์ประกอบฉากทุกอย่างที่ต้องอยู่ในฉากนั้นๆ ให้สอดคล้องกับเนื้อเรื่อง
ผู้บันทึกเสียง Sound location - บันทึกเสียงในภาพยนตร์ ตั้งแต่เสียงพูด เสียงบรรยากาศ ต้องควบคุมให้พอเหมาะ ไม่มีเสียงรบกวนมากเกินไปและต้องฟังชัดเจน
ผู้ดูแลเสื้อผ้า/แต่งหน้า Custome/Makeup - จัดเตรียมเสื้อผ้าที่จะใช้ในฉาก ให้เหมาะสมกับนักแสดง แต่งหน้าให้เข้ากับอารมณ์ของหนังและเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในฉาก 

:: นี่คือตำแหน่งที่ควรจะมีในการถ่ายหนังสั้น อาจจะทำควบกันก็ได้ เช่น เป็นทั้งผู้กำกับ และ ผู้กำกับภาพ


การกำหนดขนาดภาพในภาพยนตร์
ECU ( Extreme Close Up) - ลักษณะภาพแบบนี้จะเป็นการถ่ายภาพในระยะใกล้มากๆ ใช้ขับเน้นรายละเอียด หรือใช้เน้นและจับความรู้สึกของตัวละครนั้นให้เด่นออกมา และ ให้ความรู้สึกกดดัน เช่นภาพที่จับแค่ดวงตา หรือ ริมฝีปากตัวละคร 
CU (Close Up) - ขนาดของวัตถุในภาพจะเล็กกว่า ECU  มองเห็นใบหน้าทั้งหมดลักษณะการใช้งานคล้ายกับ ECU ให้ความรู้สึกกดดันแต่จะน้อยกว่า ECU 
MCU (Medium Close Up) - จับภาพตั้งแต่ช่วงอกขึ้นไป เพื่อจะได้เห็นท่าทางของตัวนักแสดงได้มากขึ้น  
MS (Medium Shot) - เป็นการถ่ายตัวแสดงครึ่งตัวจากเอวขึ้นไป ใช้สำหรับถ่ายทอดท่าทางของตัวนักแสดง โดยที่ไม่มีผลของการเร้าอารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้อง เป็นภาพขนาดปกติที่นิยมใช้กัน
MLS (Medium Long Shot) - คล้าย MS โดยที่กล้องจะเก็บภาพไม่เต็มตัว(แต่ก็เกือบจะเต็มตัว) ระยะภาพแบบนี้เริ่มจะกันคนดูออกมาเป็นเพียงผู้สังเกตุการณ์ 
LS (Long Shot) - เป็นการถ่ายที่จะเก็บภาพตัวแสดงเต็มตัว พร้อมๆกับสภาพแวดล้อมรอบข้าง 
ELS (Extreme Long Shot) - เป็นการถ่ายเพื่อให้เห็นบรรยากาศของสถานที่ เช่น การนำกล้องขึ้นเฮลิคอปเตอร์ ถ่ายบรรยากาศเมือง
ในการถ่ายภาพยนตร์ส่วนใหญ่นั้นจะเปิดฉากด้วยภาพขนาด LS เพื่อให้เห็น1บรรยากาศของสถานที่นั้นๆ ก่อนที่จะดำเนินเรื่อง ต่อจากนั้นก็จะมาใช้ภาพขนาด MS เพื่อให้เห็นการกระทำของตัวละคร จากนั้นจะใช้ภาพขนาดMCU - CU  เพื่อให้เห็นหน้านักแสดงในขณะที่สนทนากัน จะมีการถ่าย 2 แบบ คือการถ่ายหน้าตรง หรือ การถ่ายผ่านไหลโดยที่นักแสดงหันหน้าเข้าหากัน 



อ้างอิง
อนุกูล วิมูลศักดิ์. ขนาดภาพ [ออนไลน์]เข้าถึงได้จากhttp://www.thaicine.com/wboard/maintopic.php?GroupID=64&Begin=50&ID=5317http://www.thaicine.com/wboard/maintopic.php?GroupID=64&Begin=50&ID=5317,  17 กันยายน 2555

ที่มาhttp://makeshortfilms.blogspot.com/2012/09/production.html

ทำหนัง(สั้น)ไม่อยาก : Pre - Production (การเตรียมงานถ่าย)

ในการทำหนังสั้น นะครับ จะมีขั้นตอน หลักอยู่ 3 ขั้นตอนด้วยกัน นั่นก็คือ
Pre - Production (การเตรียมงานถ่าย)
Production (การถ่ายทำ)
Post - Production (ช่วงเก็บรายละเอียด - ตัดต่อ)

ในวันนี้เราจะมาพูดถึงเรื่อง Pre - Production (การเตรียมงานถ่าย) กันนะครับว่ามีกระบวนการอะไรบ้าง
หลายคนที่เคยทำหนังสั้น หรือ ยังไม่เคยนะครับ เชื่อว่าต้องผ่านกระบวนการนี้นั่นก็คือการเขียนบท การเขียนบทนั้นก็จะมีขั้นตอนในการเขียนดังนี้
Theme>Plot>Outline>Treatment>Screenplay

Theme คืออะไร
   Theme  คือแก่นของเรื่อง  เรื่องเล่าถูกกำหนดให้มองผ่าน ธีม (theme) เพื่อเป็นการกำหนดทิศทางที่ชัดเจนของเรื่อง และส่งผลต่อการพัฒนาเรื่องเป็นบทภาพยนตร์ต่อไป
Plot คืออะไร
   Plot คือโครงเรื่อง หมายถึงการกำหนดผ่านรายละเอียดสำคัญ (ตัวละครหลัก , ปมขัดแย้งสำคัญ) หรือ เข้าใจง่ายๆ คือ การเขียนเรียงความนั่นเอง
Plot จะมีโครงสร้างง่ายๆ คือ หลัก 3 องค์
องก์ที่ 1 = เปิดเรื่อง สร้างโลก ปูพื้น และ ปมปัญหา
องก์ที่ 2 = ดำเนินเรื่องการเผชิญหน้า และทางออก ของปมปัญหา
องก์ที่ 3 = climax  การแก้ปมปัญหา และบทสรุป 
ตัวอย่างการเขียน Plot 
   "ชายหญิงสองคน กำลังเข้านอนแต่สายตาของ ชายได้เห็นเงาดำๆผ่านหน้าต่างไป ชายหนุ่มได้บอกกับแฟนสาวแต่เธอดูจะไม่สนใจ แล้วก็บอกให้ชายหนุ่มเข้านอน ทั้งคู่หลับไปเงาดำนั้นก็ผ่านมาอีกแต่ครั้งนี้ดูใกล้กว่าเดิม ชายหนุ่มสะกิดแฟนสาวแต่เธอก็ไม่สนใจ เพราะอยากจะนอนแล้ว ชายหนุ่มเผลอหลับไป เงาดำนั้นก็เข้ามาใกล้ห้องแท้จริงแล้วเงาดำนั้นคือโจรที่ย่องมาจะขโมยของในห้อง หญิงสาวลุกออกไปเข้าห้องน้ำ โจรอาศัยมุมมืดพลางตัวทำให้เธอไม่ทันสังเกตุ โจรย่องไปเข้าห้อง ชายหนุ่มรู้สึกว่ามีอะไรบางอย่างเข้ามา ลุกขึ้นมามองทั่วๆแล้วหันไปสะกิดแฟนสาวแต่เธอไม่อยู่ ชายหนุ่มคิดแต่ว่าเค้าต้องโดนผีหลอกแน่แล้ว รีบเปิดไฟแต่ตรงสวิทไฟ เป็นโจรอยู่พอดี โจรรีบดับไฟ ชายหนุ่มยิ่งคิดว่าเป็นผี แฟนสาวกลับเข้ามาเห็นชายหนุ่ม ตกใจจึงเปิดไฟ เห็นโจรอยู่ตรงหนัา ทั้ง3ตกใจ โจรไหวตัวทันวิ่งหนีออกไป"

Outline คืออะไร
   Outline เป็นขั้นตอนต่อเนื่องของการพัฒนาบทภาพยนตร์จากโครงเรื่อง(Plot) มาเป็น Outline ใช้วิธีการเขียนที่เน้นบอกเรื่องราวผ่านตัวละครและเหตุการณ์สำคัญในแต่ละฉาก โดยเรียงลำดับฉากแรกจนถึงฉากสุดท้าย
ตัวอย่างการเขียน Outline
   1.ชายหนุ่มกำลังเดินไปหาแฟนสาวของเขาแต่สายตาของเขานั้นได้เหลือบไปเห็นเงาดำๆ แต่แฟนสาวไม่สนใจ 
   2.เมื่อทั้งคู่กำลังจะนอน ชายหนุ่มก็เห็นเงาดำนั้นอีกแต่แฟนสาวของเขาก็ยังไม่เชื่อที่ชายหนุ่มบอก
Treatment คืออะไร
   Treatment หรือ บทภาพยนตร์แบบโครงร่าง 
- การเขียนบรรยายรายละเอียดที่เกิดขึ้นในแต่ละฉากภาพยนตร์
- การเขียนแสดงรายละเอียดสำคัญที่ประกอบด้วย ชื่อตัวละครสำคัญ ทำอะไรในฉากนั้น ทำด้วยความรู้สึกอย่างไร ทำไมต้องทำให้เกิดเหตุการณ์นั้น และส่งผลกระทบต่ออะไร
- การเขียนโดยรู้ว่าต้องการระบุประเด็นสำคัญในแต่ละฉากภาพยนตร์ อะไรคือประเด็นสำคัญที่ต้องบอกในฉากนั้นๆ

การเขียน Treatment ต้องเขียนผ่าน Scene  
Treatment ไม่เหมือน Outline เพราะ outline เขียนโดยย่อเพื่อระบุเหตุการณ์ในแต่ละฉากภาพยนตร์ แต่ Treatment คือการเขียนเพื่อแสดงรายละเอียดสำคัญในฉากภาพยนตร์ และเขียนเพื่อบรรยายอารมณ์ในฉากนั้นๆ
ตัวอย่างการเขียน Treatment 
Scene 1 ภายใน/ห้องนั่งเล่น/กลางคืน
หนึ่งชายหนุ่มที่ขี้เซา เป็นคนที่ไม่เคยจริงจังกับเรื่องอะไรแม้แต่แฟนของเค้า หนึ่งเดินมาที่ห้องนั่งเล่นเพื่อจะพาใหม่แฟนสาวของเค้าไปเข้านอน เมื่อหนึ่งเดินมาถึงสายตาของเขาได้เหลือบไปเห็นเงาดำๆ ลักษณะเหมือนคนผ่านที่หน้าต่างไป หนึ่งแปลกใจว่าเงานั้นคืออะไร ในใจก็คิดไปต่างๆนาๆว่าจะเป็นผีหรือขโมย หนึ่งบอกใหม่แต่ใหม่ก็รู้ว่าหนึ่งไม่เคยพูดอะไรจริงจังจึงรีบให้หนึ่งเข้านอนไป

Screenplay คืออะไร
   Screenplay เป็นขั้นตอนต่อเนื่องจากพัฒนาบทภาพยนตร์จาก Treatment มาเป็น Screenplay จะมีรายละเอียดเหมือนกับ Treatment แต่จะเพิ่มเป็น บทพูด(Dialog) เพื่อให้นักแสดงใช้ในการถ่ายทำภาพยนตร์ 
ตัวอย่างการเขียน Screenplay 
Scene 1 ภายใน/ห้องนั่งเล่น/กลางคืน
หนึ่ง ชายหนุ่มที่ขี้เซา เป็นคนที่ไม่เคยจริงจังกับเรื่องอะไรแม้แต่แฟนของเค้า หนึ่งเดินมาที่ห้องนั่งเล่นเพื่อจะพาใหม่แฟนสาวของเค้าไปเข้านอน เมื่อหนึ่งเดินมาถึงสายตาของเขาได้เหลือบไปเห็นเงาดำๆ ลักษณะเหมือนคนผ่านที่หน้าต่างไป หนึ่งแปลกใจว่าเงานั้นคืออะไร ในใจก็คิดไปต่างๆนาๆว่าจะเป็นผีหรือขโมย หนึ่งบอกใหม่แต่ใหม่ก็รู้ว่าหนึ่งไม่เคยพูดอะไรจริงจังจึงรีบให้หนึ่งเข้า นอนไป

หนึ่ง
เธอเห็นเหมือนเรามั้ย
ใหม่
เห็นอะไร
หนึ่ง
เมื่อกี้ไม่เห็นเงาดำ หรอ
ใหม่
ไร้สาระ น่า
หนึ่ง
เธอ... มันอาจจะเป็นขโมยก็ได้นะ
หรือว่า....เป็นผี!!!
ใหม่
ชักจะไปกันใหญ่แล้ว ไปนอนซะ

:: นี่คือตัวอย่างการเขียนบทแบบง่ายๆนะครับ หวังว่าทุกคนจะนำไปปรับใช้ได้ 


เมื่อเราได้บทภาพยนตร์มาแล้ว คราวนี้จะเป็นการเตรียมงานเพื่อถ่ายทำภาพยนตร์ จะต้องมีการประชุมงาน เพื่อแบ่งหน้าที่ต่างๆเช่น
ผู้กำกับ Director
ผู้ช่วยผู้กำกับ Assistant Director
ผู้กำกับภาพ Director of Photography
ผู้กำกับศิลป์ Art Director 
และฝ่ายต่างๆอีกมากมาย 

ในขั้นตอนนี้ ผู้ช่วยผู้กำกับ เป็นคนดำเนินงานซะส่วนใหญ่ จะมีขั้นตอนดังนี้
นัดประชุมทีมงาน
ก่อนที่จะถ่ายทำภาพยนตร์ จะต้องมีการประชุมเพื่อคุยรายละเอียดต่างๆ ผู้กำกับจะอธิบายบทให้ทีมงานเข้าใจ และอาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยนอะไรก็ควรจะเสนอแนะกันในตอนประชุม เมื่อเสร็จสิ้นการประชุมทุกคนก็จะต้องทำหน้าที่ต่างๆ ที่ได้รับมอบหมาย
หาสถานที่ถ่ายทำ(Location)
เมื่อบทภาพยนตร์พร้อมถ่าย ผู้กำกับต้องการสถานที่แบบไหน ทีมงานก็จะต้องหาสถานที่เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้กำกับ เพื่อให้ดูสมจริง น่าเชื่อถือ และออกมาสวยงาม
หานักแสดง(Casting)
การหานักแสดงต้อง ให้บุคลิกของตัวละครออกมา ตามที่ผู้กำกับต้องการ
เตรียมอุปกรณ์ประกอบฉาก
หน้าที่นี้จะเป็นของผู้กำกับศิลป์ที่จะต้อง ดูบทแล้วทำเข้าใจ ต้องดูว่าฉากไหนต้องมีอุปกรณ์แบบไหนอยู่ในฉาก แล้วจัดเตรียมไว้สำหรับการถ่ายทำที่จะเกิดขึ้น และต้องเป็นไปตามที่ผู้กำกับต้องการ ในบางฉากอาจจะต้องเตรียมไว้สำรองเช่น หมวกที่จะต้องเลาะเลือด เพราะอาจจะเกิดการพลาดแล้วต้องถ่ายใหม่ เพราะฉนั้นจำเป็นที่จะต้องเตรียมอุปกรณ์ไว้สำรองเพื่อทดแทนกันได้
การWorkshop ทีมงาน นักแสดง 
หากการถ่ายทำต้องมีเทคนิคพิเศษ เช่น ฉากแอคชั่นต้องมีระเบิด ฉากนักแสดงถูกรถชน ต้องมีการมาเตรียมก่อนว่าจะใช้เทคนิคอย่างไร ทีมงานจะต้องรับผิดชอบในหน้าที่นี้ เพื่อความปลอดภัยของทุกคน
ส่วนนักแสดง ก็ต้องมาพบปะพูดคุยกัน เพราะส่วนใหญ่แล้วนักแสดงจะไม่รู้จักกัน ก็จะต้องมาพูดคุย ซ้อมบทคร่าวๆ เพื่อจะได้ไม่เขินอายในวันที่ถ่ายจริง
กำหนดวันถ่ายทำภาพยนตร์
ผู้ช่วยผู้กำกับจะต้อง ดูว่าทุกฝ่ายว่างตรงกันเมื่อไร วันที่ถ่ายเหมาะสมกับสภาพ ลม ฟ้า อากาศ หรือไม่ เหมาะสมกับสถานที่ ที่จะไปถ่ายทำหรือไม่ เช่น ถ่ายฉากในโรงเรียน หากต้องการความสงบก็ควรจะถ่ายในวันเสาร์-อาทิตย์ แต่ถ้าต้องการให้เห็นบรรยากาศของนักเรียนก็ควรจะถ่ายวันจันทร์-ศุกร์


ที่มา: http://makeshortfilms.blogspot.com/2012/09/pre-production.html