Monday, November 16, 2015

11 ความกลัวของเด็กแอดมิดชั่น


1. "กลัว" สอบแอดมิชชั่นไม่ติด   
เป็นความกลัวพื้นฐานเลย ไม่ว่าจะไปถามเพื่อนๆ รุ่นพี่คนไหนๆ คำตอบก็จะได้เหมือนๆกันว่า กลัวที่จะแอดไม่ติด เพราะเวลาถึงจุดๆนั้นแล้ว คงไม่มีใครสามารถมั่นใจได้ว่า ตัวเองจะแอดฯติดรึเปล่า[คนที่ไม่กลัวเลย เขาคือเทพครับ]
เนื่องจากว่า ปีๆหนึ่ง มีนักเรียนสมัครสอบแอดมิชชั่นกว่า 200,000 คนทั่วประเทศ แต่มหาวิทยาลัยรัฐรับได้แค่ไม่กี่หมื่นคนเอง จำนวนตัวเลขตรงนี้มันคงกดดันให้หลายๆคนเครียดจนทำอะไรไม่ถูกเลยก็ได้

2."กลัว" อ่านหนังสือไม่ทัน 
ผมก็กลัวอยู่เหมือนกันนะ พอเทียบวันที่เหลือ กับจำนวนหนังสือที่ต้องอ่าน แค่เห็นก็แทบจะสลบแล้ว เวลาสอบ ผมเชื่อว่า หลายๆคนคงไม่อ่านแค่ในตำราเรียนอย่างเดียวหรอก ถ้าอ่านแค่ในตำรา เราก็ไม่สามารถไปสู้เพื่อนๆจากทั่วประเทศได้แน่นอน ทั้งหนังสือเก็งข้อสอบ หนังสือจากสำนักพิมพ์ต่างๆ จะถูกมาสุมๆกันในช่วงใกล้สอบแบบนี้ เห็นแล้วก็น่าท้ออยู่เหมือนกัน ที่สำคัญ ถ้าเฉลี่ยแล้วต้องอ่านกันวันละ 50 หน้า หลายคนคงแทบกระอักเลือดกันเลยทีเดียว
หลายคนเริ่มเลิกเที่ยว เอาเวลามาทุ่มให้กับการอ่านหนังสือ ถ้าหนักคงถึงขั้นไม่กินข้าวกินปลากันเลยทีเดียว สังเกตได้ง่ายๆเลย ช่วงนี้เพื่อนคนไหนซูบไป หรือน้ำหนักเกิน สันนิฐานได้เลยว่า เขากำลังตั้งใจอ่านหนังสืออย่างหนักอยู่..บางคนอ่านแบบข้ามวันข้ามคืน ไม่ได้พักผ่อนเลย สมองก็จะล้าเกินไป บางทีอาจจะต้องหามส่งโรงพยาบาล..เชื่อไหมว่า...ในขณะที่เพื่อนๆกำลังนั่งเล่นคอมฯอยู่ มีหลายคนเริ่มอ่านหนังสือกันแล้ว..

3."กลัว" เกรดในโรงเรียนออกมาไม่ดี 
กลายเป็นความกดดันที่น่ากลัวอีกอย่างหนึ่ง นั่นก็คือ ถึงแม้เราจะตั้งใจอ่านหนังสือเตรียมสอบมากมายแค่ไหน ถ้าเกรดได้ออกมาไม่ดีก็ต้องจอดเหมือนกัน แต่ที่สำคัญ คะแนนในห้องส่วนใหญ่มาจากการส่งงานแทบทั้งนั้น เรียกได้ว่า ถ้าไม่ส่งงานเลย เกรดไม่ดีก็ไม่มีทางออกให้แน่นอน ถ้าหากเรากังวลแต่ทำงานส่ง เราก็จะไม่มีเวลาอ่านหนังสือเตรียมสอบ ที่อาจจะมีครั้งเดียวในชีวิตของเรา ถ้าหากเรามัวแต่อ่านหนังสือเตรียมสอบ แล้วไม่ได้ส่งงาน 20% ตรงส่วนนี้ [GPAX] อาจจะไม่สามารถฉุดคะแนนเราขึ้นมาได้เลยก็ได้ เรียกได้ว่า เครียดทั้ง 2 ทางเลยครับ..

4."เครียด" กิจกรรมในโรงเรียน 
กิจกรรมในช่วงนี้ไม่ค่อยอยากให้ทำ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ที่จะทำใช่รึเปล่า..? มันเป็นส่วนสำคัญก็จริงสำหรับคนที่ยังหาตัวเองไม่เจอ แต่พอถึงเวลาแบบนี้แล้ว เชื่อว่าหลายๆคนคงอยากอยู่บ้านอ่านหนังสือมากกว่า ที่สำคัญกิจกรรมบางอย่าง ถ้าทำก็ต้องทำออกมาให้ดีด้วย โดยเฉพาะกิจกรรมที่เชิดหน้าชูตาให้กับโรงเรียน เวลาในการอ่านหนังสือก็จะถูกแบ่งให้กับกิจกรรมมากขึ้น ถ้าจะทำกิจกรรมก็ทำได้ครับ แต่คงจะต้องเพลาๆลงบ้างแล้วล่ะ [ยกเว้นแต่คนจะเอาความสามารถพิเศษของเราตรงนี้ ไปใช้ในการรับตรงได้]

5."กลัว" ระบบการสอบ 
ยิ่งในระบบใหม่นี้ เราไม่อาจรู้ได้เลยว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง เพราะฉะนั้นจะคิดจะทำอะไรก็ต้องระมัดระวังดีๆ ติดตามข่าวอยู่บ่อย และสม่ำเสมอครับ..

6."กลัว" เพื่อนๆขยันกันมากขึ้น 
ในเวลาใกล้สอบแบบนี้ เพื่อนๆหลายคนก็เริ่มจะลงมืออ่านหนังสือกันอย่างบ้าระห่ำกันเลยทีเดียว[หรือว่าไม่ทำกันหากเราไปคุยกับเพื่อนๆช่วงนี้ คงมีแต่คำถามที่ว่า อ่านหนังสือไปถึงไหนแล้วนั่นจะยิ่งทำให้เรากดดันหนักขึ้นไปอีก เพราะเรารู้ว่า เพื่อนเราอ่านถึงขนาดนี้แล้วหรอ แต่เรายังไม่ถึงไหนเลย ยิ่งทำให้เราเครียดยิ่งขึ้นไปอีก ช่วงนี้ หลายคนถึงกับมองเพื่อนเป็นคู่แข่งตัวฉกาจกันเลยทีเดียว..

7."เครียด" เรื่องเรียนพิเศษ 
ยิ่งมีเวลาน้อย การกวดวิชากลายเป็นเรื่องจำเป็นไปซะแล้ว สำหรับวัยรุ่นยุคนี้ แน่นอนว่า การกวดวิชาแต่ละครั้ง ไม่ใช่ถูกๆเลย โดยเฉพาะสำหรับคอร์สเตรียมสอบแอดมิชชั่น ทุกที่เริ่ม Start กันที่ 4000 บาทแทบทั้งนั้น เรียกได้ว่า อยากเรียนให้ทัน คงจะต้องลงทุนกันมากหน่อยล่ะ ในกรณีแบบนี้มันจะเครียดกันทั้ง 2 ฝ่าย นั่นก็คือ ทั้งเรา ที่เรียนหนักจนไม่มีเวลาพักผ่อน และพ่อแม่ ที่ส่งเงินให้เราเรียนพิเศษ

8."เครียด" ที่ต้องสอบพร้อม เด็กเทพ กับ เด็กซิ่ล 
สำหรับคนธรรมดาอย่างเราๆแล้ว อาจจะไม่มีประสิทธิภาพในการเรียนที่ดีเลิศขั้นเทพอย่างเด็กหลายๆคน แน่นอนว่า ถ้าเราหวังคณะดีๆเอาไว้ คงจะต้องเข้าชิงกับเด็กขั้นเทพซะหน่อยหล่ะ โดยเฉพาะคณะที่เรียนยากๆอย่างแพทย์ ซึ่งมีแต่เทพเรียนกัน [แล้วเราเป็นอะไรเนี่ยเพราะฉะนั้น คนที่อยากเป็นหมอคงจะต้องพยายามกันให้มาก มากจนถึงมากที่สุด มากกว่าคนที่คิดว่ายังไงก็สอบติดอยู่แล้ว..
เด็กซิ่ลก็ถือว่าน่ากลัวพอๆกัน เพราะจะเป็นการเพิ่มประชากรที่สอบแอดมิชชั่นแต่ละปีให้สูงขึ้น แต่ก็อย่าไปถือโทษโกรธเคืองอะไรเลยนะครับผม ไม่ใช่เพราะว่าเขาจะมาแย่งที่นั่งเราหรอก อยากให้เข้าใจว่า คนเราย่อมต้องเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้ตัวเองทั้งนั้น การที่เขาจะซิ่ลก็เป็นสิทธิของเขา เราพยายามในส่วนของเราให้ดีที่สุดก็พอ

9."เครียด" สอบตรง โควตา 
มีหลายคนที่ไม่มั่นใจกับระบบแอดมิชชั่นก็แห่กันมาสอบตรงเป็นจำนวนมาก การรับตรงนั้นสามารถรับนักเรียนได้แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะฉะนั้นอัตราการแข่งขันมันก็จะสูงขึ้นกว่าแอดมิชชั่น ถ้าสอบติดก็โล่งไป ถ้าสอบไม่ติดก็คงต้องมาเครียดกันต่อ ที่สำคัญมีการจัดสอบตรงก่อนสอบแอดมิชชั่นเสียอีก เรียกได้ว่า คงต้องขยันกันตั้งแต่เนิ่นๆเลยล่ะครับ..

10."เครียด" สอบสัมภาษณ์ 
คงไม่มีใครที่รับตรงได้แล้ว แต่ต้องยืนคอตก เพราะตกสอบสมภาษณ์ใช่รึเปล่า? ที่เครียดก็คือ เราจะพูดยังไงให้เขาอยากรับเราเข้าเรียน ต้องจัด Port ยังไงให้น่าสนใจ ทำยังไงก็ได้ให้เขาสนใจในตัวเรา ซึ่งก็ถือว่ากดดันอยู่เหมือนกัน เมื่อต้องอยู่ต่อหน้าคณาจารย์ที่มารุมสัมภาษณ์เรา..

11."เครียด" กับผลคะแนน 
ถึงแม้ว่าคะแนนสอบของตัวเองจะออกมาแล้ว แต่ก็ไม่มีใครมั่นใจได้เลยว่า คะแนนของเราจะมากพอที่จะเข้าเรียนต่อได้รึเปล่า เพราะขณะที่เราได้คะแนนเท่านี้ ก็ยังมีอีกหลายคนที่ได้คะแนนมากกว่าเรา ไม่แปลกหรอกที่หลายๆคน ถึงแม้ว่าเราจะได้คะแนนเยอะ แต่ก็ยังกังวลไม่หายอยู่ดี..จริงไหม.


ที่มา : https://blog.eduzones.com/benz/16341

No comments:

Post a Comment